วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

http://widget-d9.slide.com/widgets/slideticker.swf" type="application/x-shockwave-flash" quality="high" scale="noscale" salign="l" wmode="transparent" flashvars="cy=h5&il=1&channel=2522015791338525913&site=widget-d9.slide.com" style="width:426px;height:320px" name="flashticker" align="middle"/>

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

ส่วนบนของพาน


ขั้นตอนการสลักลวดลายโดยใด้สิ่วสลักๆลวดลายพานจนหมด

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

ตลับเงินสลักดุน

ตลับเงินสลักดุนลายใบเทศเอาไว้สำหรับใส่ของจุกจิกทั่วๆไป

มังศรีสลักดุน


เป็นรูปมังศรีเข้าชันแล้วนำไปสลักดุนลูบลายให้สวยงามตามต้องการ

กรอบรูปสลักดุน


วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

ทับทรวงเงินสลักดุน



ทับทรวงเงินสลักดุน ลักษณะลวดลายจะเป็นลายใบเทศ

งานสลักดุน


เข็มกลัดเงินสลักดุน

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

พานสลักดุน

พานทองแดงสลักดุนชุบด้วยทอง

เข็มกลัดเงิน



เข็มกลัดเงินสลักดุนลายใบเทศพร้อมทั้งฉลุลาย รูปทรงเข็มกลัดจะเป็นรูปใบไม้

หงส์สลักดุน

หงส์สลักดุนด้วยแผ่นทองแดง ลวดลายเป็นลายไทย

ปัจจุบันงานช่างสลักดุนนับวันจะสูญหายไป เนื่องจากช่างฝีมือด้านนี้มีน้อย และขาดความชำนาญ ในเทคนิค และวิธีการ ตลอดจนความต้องการ และความนิยมงานประเภทนี้มีวงจำกัด กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานของรัฐจึงต้อง ส่งเสริม และสนับสนุนให้ปรากฏงานช่างแขนงนี้สืบต่อไป ผลงานสำคัญ ที่ช่างกรมศิลปากรได้สร้างสรรค์ขึ้น อาทิ พานแว่นฟ้าและฝาประกับคัมภีร์ (ปกสมุดไทย) เสาเสมา ธรรมจักรทองคำ ผลงานสำคัญทั้งสองชิ้นนี้ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ พระคฑาจอมพล เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๔ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๓

ในสมัยโบราณ ราชสำนักให้ความสำคัญ กับงานช่างแขนงนี้ไม่น้อยไปกว่าช่างแขนงอื่นๆ เพราะช่างบุดุน หรือช่างสลักดุน ได้สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นสิ่งที่สูงค่ายิ่ง โดยเฉพาะเครื่องราชูปโภค เครื่องทอง เครื่องประดับตกแต่ง และเครื่องประกอบพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์มานาน ดังจะเห็นได้จาก ศิลปวัตถุอันล้ำค่ายิ่งที่พบภายในกรุ พระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บางส่วนมีผลงานศิลปกรรมที่แสดงความเป็นอัจฉริยะ ความสามารถใน ทางสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชสำนักอย่างหาที่เปรียบมิได้ บ่งบอกถึงความนิยม และโปรดให้ช่าง ได้สร้างผลงานที่เป็นมรดกไว้ให้ชื่นชมจนทุกวันนี้

วัสดุ


วัสดุที่นิยมนำมาใช้ในงานสลักดุน ได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง ส่วนอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในงานสลักดุน ประกอบด้วย แผ่นโลหะที่จะนำมาสลักดุน แผ่นชันแก้วใช้รองรับโลหะขณะสลักดุนจะ ช่วยให้ไม่เสียรูปทรง เครื่องมือสลักดุน ประกอบด้วยค้อน และสิ่วสลักดุน ขนาดต่างๆ กรดกำมะถันเจือจาง ตะเกียงเป่าแล่นหรือตะเกียงฟู่แบบใช้ แก๊ส คีบจับเส้น ปากกาจับร้อน แปรงทองเหลือง กาว สิ่วตอกขาด หรือ สิ่วสกัด กรรไกรตัดโลหะ ตะไบ และแท่งเหล็กหรือไม้ ไว้ทับชิ้นงานกับ ชันแก้ว

ขั้นตอนและวิธีการสลักดุน


เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ ว่าจะทำเป็นวัตถุชนิดใด ขั้นแรกทำ การออกแบบ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก ปิดแบบลงบนวัสดุที่ใช้ในงาน สลักดุน สลักลวดลายเส้นดุน เค้าโครงส่วนใหญ่ ดุนแยกตัวลายทั้งด้าน หน้าด้านหลัง เก็บรายละเอียดตัวลาย ขัดตกแต่งทำความสะอาดตรวจ สอบและซ่อมแซมในส่วนต่างๆ

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

งานช่างสลักดุน


งานสลักดุน เดิมเรียกกันว่างานบุดุน เพราะจะใช้โลหะเป็น แผ่นบางๆ แล้วไปหุ้มบนวัสดุที่มีรูปทางแล้ว กล่าวคือหุ้มข้างนอกวัตถุเดิม เพื่อให้เกิดความพิเศษ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น การบุทองคำบนขันเงิน พานเงิน หรือพระพุทธรูป เป็นต้น แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม เพราะความบาง ของเนื้อโลหะที่มีความหนามากกว่า ฉะนั้นช่างบุดุน ปัจจุบันจึงพัฒนา เทคนิคจากงานบุดุนมาเป็นการสลักดุน ซึ่งสามารถใช้สิ่วสลักตอกลงไป บนแผ่นโลหะ และดุนขึ้นให้สูง หรือสร้างสรรค์งานได้ตามความต้องการ โดยไม่ต้องคำนึงถึง ว่าเนื้อโลหะจะฉีกขาด หรือชำรุดได้ง่าย

ความหมายของงานสลักดุน


การสลัก หมายถึงทำให้เป็นลวดลาย หรือตัวหนังสือด้วยของ มีคม โดยการใช้สิ่วหรือเครื่องมือสลัก ตอกด้วยค้อนลงไปบนแผ่นโลหะ ให้เป็นร่องลึก เพื่อให้เห็นลวดลาย หรือภาพชัดเจนโดยไม่ต้องให้เนื้อของ โลหะนั้นๆ หลุด หรือสึกออกไป

การดุน หมายถึง การทำให้โลหะต่างๆ ให้เป็นรอยนูนขึ้นคล้ายๆ กรรมวิธีการปั๊มหรือดุนลาย

งานสลักดุน จัดเป็นกรรมวิธีพิเศษที่ต้องอาศัยความชำนาญ ความสามารถเฉพาะ ต้องใช้เทคนิคของช่าง แต่ละคน และต้องทุ่มเทปฏิบัติงานทั้งแรงกาย และแรงใจอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความวิจิตร มีคุณค่าและเกิดการยอมรับ ในฝีมือ เพราะการทำงานกับโลหะนั้นจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้โดยง่าย